มหิดล – มหาวิทยาลัยระดับโลก ทางเลือกอันดับหนึ่งของเด็กไทย

“Mahidol – University of Choice มหาวิทยาลัยระดับโลก ทางเลือกอันดับหนึ่งของเด็กไทย” เป็น?หัวข้อสัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็น highlight ของงานสื่อสารการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในใจของเด็กไทย ซึ่ง สยามเมนทิส ได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้ดำเนินโครงการ

การสัมภาษณ์พิเศษนี้ ยังเป็นโอกาสเปิดตัววิดีทัศน์ เรื่อง “วันหนึ่งในชีวิตที่มหิดล ศาลายา” หรือ “A Day in Life at Mahidol Salaya” ซึ่งผลิตขึ้นเพื่อให้นักเรียนมัธยมปลายได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา ในศาลายาโดยเฉพาะ

มหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียของ Quacquareli Symonds (QS) Asian University Rankings และอยู่ในอันดับที่ 28 ของเอเชีย ในปี 2553 ที่ผ่านมา โดยถือว่าในปีนี้อยู่ในลำดับที่ดีขึ้นจากการจัดอันดับในปี 2552 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 30 ของเอเชีย

ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า ในเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกเป็นเป้าหมายที่เราวางไว้ตั้งแต่ปี 2523 จากรากฐานการที่แข็งแกร่งทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่า มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการวิจัยอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร

University of Choice  ทางเลือกอันดับหนึ่งของเด็กไทย

สำหรับการจะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในใจของเด็กไทย (University of choice) นั้น ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

  • การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ ซึ่งมีบทบาทในการขยายองค์ความรู้และพรมแดนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และวัฒนธรรม สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชน เศรษฐกิจและสังคม
  • คุณภาพด้านวิชาการ
  • ประสบการณ์ชีวิตในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่หาไม่ได้จากที่อื่น
  • ปรัชญาการศึกษาในการหล่อหลอมให้นักศึกษามีจิตอาสา พัฒนาสังคม และวัดความสำเร็จของการศึกษา จาการประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติ ตามปณิธานของมหาวิทยาลัย

ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการแถลงข่าว วิดีทัศน์เรื่อง “A Day in Life at Mahidol Salaya” ซึ่งผลิตโดย สยามเมนทิส มีผู้เข้าชมแล้วกว่าหนึ่งหมื่นครั้ง และได้รับการเผยแพร่โดยชุมขนบนเฟซบุคกว่าหนึ่งหมื่นคน

วิถีชีวิตที่สร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทุ่มเททรัพยากรในการปรับปรุงมหาวิทยาลัยเพื่อให้สนับสนุนวิถีชีวิตที่ สร้างสรรค์ ในการที่จะให้ประสบการณ์ชีวิตที่หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยอื่นแก่ นักศึกษาทุกคน

พื้นที่จำนวน 1,240 ไร่ของมหาวิทยาลัย ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ใช้สอยไม่เกินร้อยละ 30 และสงวนพื้นที่ที่เหลือกว่า 800 ไร่ ให้เป็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่ชุ่มน้ำ และสวนสมุนไพรซึ่งกำลังจะขยายพื้นที่ให้เป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดล ขยายพื้นที่หอพัก เพื่อให้มีที่พักเพียงพอที่จะรองรับนักศึกษาใหม่ ที่เข้ามาศึกษาในชั้นปีที่ 1 ราว 5,000 คน ทุกปี จัดให้มีจักรยานสาธารณะและรถรางเพื่อการเดินทางในพื้นที่มหาวิทยาลัย รวมถึงรถประจำทาง (Shuttle Bus) ซึ่งวิ่งวนระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ นักศึกษาซึ่งพักอยู่ในมหาวิทยาลัย สามารถที่จะใช้เวลาในการศึกษาและการทำกิจกรรมได้เต็มที่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง นอกจากนั้น บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายครอบคลุมพื้นที่ในมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมด ทำให้นักศึกษาสามารถค้นคว้าและทำงานได้ทั่วทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย

ชีวิตนักศึกษาในศาลายา เต็มไปด้วยกิจกรรมหลากหลายตามความสนใจ นอกจากกิจกรรมของชมรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีการจัดการแสดงโดยนักศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีการแสดงดนตรีเป็นประจำ ซึ่งช่วยเพิ่มสีสันให้กับชีวิตด้านศิลปะวัฒนธรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

นักศึกษาทุกคนมีโอกาสที่จะเรียนและทำงานร่วมกันในวิชาการศึกษาทั่วไป หรือ Mahidol University General Education (MUGE) ทำให้ได้มีโอกาสรู้จักและทำงานร่วมกับเพื่อนต่างคณะในโครงงานต่าง ๆ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและงานอาสาสมัคร

นักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2554 จะได้ใช้พื้นที่กว่า 18,000 ตารางเมตร ในศูนย์การเรียนรู้มหิดล ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และกิจกรรมนักศึกษา ?นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังก่อสร้างหอประชุมแห่งแรก ซึ่งจุคนได้ 2,500 คน ซึ่งจะมีเวทีและระบบเสียงล่าสุด เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นลง หอประชุมแห่งใหม่ จะมีระบบเสียงไม่แพ้ Concert Hall ชั้นนำในเอเชีย