วัสดุสื่อสารและแผนงานสื่อสาร “624” ถูกจัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในที่จะสร้างความเข้าใจแก่ผู้เลี้ยงดูเด็กถึงความสำคัญ ของอาหารและพัฒนาการ นอกจากนั้น ยังเป็นการให้คามรู้เกี่ยวกับการเตรียมอาหารและการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง แผนงานสื่อสารนี้ ถูกพัฒนาขึ้น โดยความร่วมมือระหว่าง สยามเมนทิส ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานสื่อสาร กับ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ปัญหาของภาวะโภชนาการบกพร่องในหมู่เด็กไทยได้รับการยืนยันโดยงานวิจัย หลายชิ้น การสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการครั้งทีี่ 5 เมื่อปี 2546 พบว่า เด็กไทยเกินกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55.2) เท่านั้น ที่ได้รับอาหารสมกับวัย ปัญหานี้ เป็นที่น่าเป็นห่วงเพราะจะส่งผลถึงพัฒนาการของสมองและระดับเชาว์ปัญญาของ เด็กไทย
จากการประเมินสถานการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอและสาธารณสุข จังหวัด นักโภชนาการ พบว่าการให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่แม่ของเด็กนั้น เข้าไม่ถึงตัวผู้เลี้ยงดูเด็กที่แท้จริง เพราะแม่ส่วนใหญ่ต้องกลับไปทำงานไม่นานนักหลังคลอด และปล่อยให้เด็กอยู่ในความดูแลของยายหรือย่า ซึ่งส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมต้น และจะเตรียมอาหารตามความเคยชินและความเชื่อที่มีมา เอกสารเผยแพร่ที่โรงพยาบาลให้กับแม่ ก็ไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์กับคุณยายคุณย่าเหล่านี้ เพราะเป็นเอกสารที่จะต้องนำไปโรงพยาบาลเวลานำเด็กไปตรวจสุขภาพทุกครั้ง ทั้งยังจัดพิมพ์ด้วยตัวหนังสือขนาดเล็ก ย่ายายส่วนมากจึงเก็บไว้ ไม่นำมาอ่านทบทวนอยู่เสมอ
คณะทำงานจึงต้องหาช่องทางในการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจและชักจูงให้ผู้เลี้ยงดูตัวจริงเหล่านี้ รับเอาความรู้ใหม่เกี่ยวกับการเตรียมอาหารและวิธีการเลี้ยงดูไปปฏิบัติ
เราได้พัฒนาวัสดุสื่อสาร ตำรับอาหาร โดยความสนับสนุนทางวิชาการ จากสถาบันวิจัยโภชนาการ เพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการและสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เลี้ยงดู รวมถึงการวางแผนการสื่อสารโครงการ วัสดุสื่อสารที่จัดทำขึ้น ได้ถูกนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย คือ ย่า ยาย ในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ