หลากหลายเรื่องราวและประสบการณ์จากเพื่อนวิทยากรและเจ้าภาพ ในการประชุม Origins Asia Pacific Business Narrative Conference เมื่อวันที่ 6 – 8 กันยายน 2010 ที่สิงคโปร์
เรื่องของเจ้าภาพ
เจ้าภาพของเรา National Book Development Council of Singapore (NBDCS) เป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไร มีภารกิจในการส่งเสริมการเล่าเรื่อง การอ่าน การเขียน และธุรกิจ Publishing ของสิงคโปร์
คุณรามา (R. Ramachandran) ซึ่งเป็น Executive Director ของ NBDCS เล่าให้ผมฟังว่า ซึ่ง Business Narratives Conference นี้ เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลการเล่าเรื่องนานาชาติของสิงคโปร์ (Singapore International Storytelling Festival) ซึ่งจัดมา 4 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งคุณรามากล่าวว่า การส่งเสริมการเล่าเรื่องเป็นหนึ่งวิธีในการส่งเสริมการอ่าน
เรื่องของเด็ก ๆ ก็มีสิทธิ์กลายเป็นหนังสือ
คุณรามาบอกว่า NBDCS จัดประกวดเรื่องเล่าของเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยมีสำนักพิมพ์เป็นผู้สนับสนุน เรื่องของเด็กที่ชนะการประกวด จะได้ถูกนำมารวมเป็นเล่มและผลิตออกมาเป็นหนังสือภาพ
เด็กที่ชนะการประกวดจะได้ผ่านประสบการณ์การตีพิมพ์หนังสือเหมือนผู้ใหญ่ที่เป็นนักเขียน
มีเด็กคนหนึ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติจากบังคลาเทศ ที่มาทำงานในสิงคโปร์เพราะหวังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องมาเสียชีวิตในสิงคโปร์และถูกส่งกลับบ้านไป ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องที่จบลงอย่างมีความสุข แต่ก็เป็นเรื่องเล่าที่สะท้อนมุมมองและความเข้าใจของเด็กต่อความเป็นจริงที่ เกิดขึ้น
ในฐานะที่เคยเป็นบรรณารักษ์มาเกือบตลอดชีวิตการทำงาน คุณรามา เชื่อว่า บทบาทของห้องสมุดในฐานะที่เก็บรวบรวมหนังสือและสรรพความรู้นั้นได้จบลงแล้ว วันนี้ ห้องสมุดเป็นพื้นที่เปิดในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเรื่องเล่าเพื่อส่งเสริมการอ่าน และเป็นเวทีในการสร้างสรรค์เนื้อหา ซึ่งความเชื่อนี้ สะท้อนให้เห็นอยู่นำในกิจกรรมต่าง ๆ ของ NBDCS รวมถึงการส่งเสริม Storyelling จนกลายเป็นเทศกาลเล่าเรื่องนานาชาติอย่างทุกวันนี้
เล่าเรื่องเพื่อธุรกิจ
ความคิดที่จะจัดการประชุมเกี่ยวกับ Storytelling ทางธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เพราะคุณรามาเชื่อว่า Storytelling ยังมีประโยชน์สำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลง เลยรวมตัวกับ practitioner ทางด้านการจัดการความรู้ และผู้ที่ทำงานด้าน Storytelling จัดงานนี้ขึ้นมา
ผมว่าแกเป็น บรรณารักษ์ที่ creative ที่สุดที่เคยมีมา
หลากหลายประสบการณ์จากทั่วโลก
วิทยากรแต่ละคนก็มีตัวอย่างจากประสบการณ์ทำงานของตัวเองมาแลกเปลี่ยน เพื่อให้เห็นว่าการใช้เรื่องเล่าสามารถจะนำไปสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไร
คุณวิคตอเรีย วอร์ด จากอังกฤษ เล่าให้ฟังถึงการจัดกระบวนการ เพื่อให้พนักงานและประชาชนที่มาใช้บริการศูนย์สุขภาพแห่งหนึ่งที่อังกฤษ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งที่ดีและไม่ดี เกี่ยวกับอาคารศูนย์สุขภาพหลังเดิมที่ใช้งานอยู่ ซึ่งเธอก็ได้เอาสรุปเรื่องราวที่ผู้คนเล่าสู่กันฟังขึ้นมาเป็นโจทย์ หรือ Brief สำหรับการออกแบบอาคารหลังใหม่ให้กับสถาปนิก เมื่ออาคารหลังใหม่เปิดใช้งาน พนักงานและผู้ใช้บริการก็มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีขึ้น และอาคารหลังนี้ก็ได้รับรางวัลด้านสถาปัตยกรรมหลายรางวัลในเวลาต่อมา
คุณโอลิเวีย เซอร์ราต จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ก็ใช้เรื่องเล่าในเชิงการจัดการความรู้ เพราะ ADB ได้สะสมประสบการณ์เกี่ยวกับโครงการด้านการพัฒนาไว้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้ามาใช้บริการจาก ADB เพราะเห็นว่า ADB จะสามารถเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับกับบริหารโครงการพัฒนาของตนเองได้
วิทยากรคนหนึ่ง จากประเทศเจ้าภาพ เป็นนายทหารเรือที่กำลังศึกษาปริญญาเอกสาขาการจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) อยู่ ซึ่งเขากำลังสนใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ในหน่วย ทหาร
ปรกติ กรณีศึกษาเพื่อการเรียนรู้มักจะเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ แต่ที่จริง คนเราจะได้บทเรียนที่ลึกซึ้งจากความผิดพลาดของตนเอง เลยเกิดคำถามว่า ทำอย่างไร สมาชิกขององค์กร จะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อการพัฒนาตนได้
การยอมรับความผิดพลาดและแลกเปลี่ยนบทเรียนจากความผิดพลาดของตนเองกับผู้ อื่น ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งสำหรับกองทัพ ซึ่งเป็นซึ่งเป็นที่รวมของเหล่า Alpha Male จำนวนมากที่หมกมุ่นกับความสำเร็จและชัยชนะ
ผู้ร่วมประชุม
จากการพูดคุยในวงสนทนาทั้ง 3 รอบ ก็พบว่า หัวข้อที่เตรียมไป ได้รับความสนใจจากผู้คนซึ่งทำงานหลาย ๆ ประเภท ทั้งที่เป็น หน่วยงานของรัฐบาลที่ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม (social service) บริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับ Branding รวมถึงคนที่มาจากบริษัทซอฟท์แวร์ซึ่งใช้เทคนิค Storytelling มาในการจัดทำข้อกำหนด (specifications) สำหรับโครงการพัฒนาเว็บไซต์
นอกจากภาคเอกชนแล้ว ยังมีผู้เข้าร่วม conference นี้มาจากภาครัฐของสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน กองทัพหรือตำรวจ อยู่หลายคนทีเดียว จากกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่วิทยากรนำมาแลกเปลี่ยนและการพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม คนที่เข้าร่วมประชุม ดูจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ KM ในเชิงของการวางแผนและการจัดการความเปลี่ยนแปลงดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน
การจัดประชุมแบบ Open Space Technology
หลักคิดในการจัดประชุมแบบ Open Space คือให้อิสระแก่ผู้เข้าร่วมประชุมในการที่จะเข้าร่วมวงสนทนาเรื่องใดก็ได้ที่ ตนเองสนใจ หากใครฟังไปแล้ว รู้สึกว่าไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ หรือ ไม่ได้ contribute อะไรให้กับวงสนทนา ก็สามารถเดินออกจากวงสนทนาได้ ไม่นับเป็นการเสียมรรยาท
Freedom of Choice นี่มันดีจริง ๆ
ปรกติ เราจะจัดประชุมแบบนี้ให้กับลูกค้าเพื่อที่พัฒนาแผนงาน เพราะกระบวนการประชุม เป็นการแบ่งคนเข้าไปทำงานในเรื่องที่ตัวเองสนใจโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ใน Conference นี้ ผู้เข้าร่วมประชุมก็ดูจะชอบใจกับ format การประชุม เพราะสามารถเลือกใช้เวลากับวงสนทนาที่ตัวเองสนใจได้ ไม่เหมือนกับการนั่งฟัง presentation
Origins 2011
ทั้งเจ้าภาพและวิทยากรก็ตกลงใจว่า จะช่วยกันผลักดันให้เกิดการประชุมนี้ในปีหน้า โดยที่ทุกคนอยากเห็นการประยุกต์ใช้ Storytelling อย่างกว้างขวางมากขึ้นในหลาย ๆ ลักษณะ
หนึ่งในข้อเสนอสำหรับการจัด conference ปีหน้าคือ การแบ่งหัวข้อของ conference ออกเป็นหลาย ๆ track เพราะ application ของ Storytelling ที่นำมาแบ่งปันกันในปีนี้มีหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่อง change management การศึกษาเรื่องภาวะผู้นำ KM in action ไปจนไปถึงการสื่อสารสาธารณะที่เป็นหัวข้อของสยามเมนทิส
ติดตามความเป็นไปของการประชุมครั้งหน้าได้จากเว็บไซต์ของเรา